Loading

กองสวัสดิการ สำนักงานกำลังพล

|
โครงการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

" ..… คนเราถ้าพอในความต้องการ ก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อย ก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย  ถ้าทุกประเทศมีความคิด

อันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจ มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง… หมายความว่าพอประมาณ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข"

พระราชดำรัส เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2543 


การดำเนินวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
 

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

               “เศรษฐกิจพอพียง” เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ ครอบครัว 
ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ
 เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์

               ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
พอสมควรต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากความเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ
 และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆมาใช้ในการวางแผน และการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้อง
เสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฏี และนักธุรกิจในทุกระดับให้มีความสำนึกในคุณธรรม
 ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และความรอบคอบ 
เพื่อให้สมดุล และพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจาก  
โลกภายนอกได้อย่างดี

หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง

               การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท 
โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ ความรอบคอบ คุณธรรม
ประกอบการวางแผนการตัดสินใจ และการกระทำ


ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีหลักพิจารณาปรัชญาอยู่ 5 ส่วน ดังนี้

      1.กรอบแนวคิด
            เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเน้นโดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย
 สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย
และวิกฤต เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา

       2.คุณลักษณะ
            เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลางและ
การพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน

       3.คำนิยามความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 ลักษณะพร้อมๆกัน ดังนี้
            • ความพอประมาณ หมายถึง  ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น 
เช่นการผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
            • ความมีเหตุผล หมายถึง  การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความเพียงพอนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณา
จากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆอย่างรอบคอบ
            • การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึงการเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยน แปลงด้านต่างๆที่จะเกิดขึ้น 
โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้ไกล

        4.เงื่อนไข 
             การตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆให้อยู่ระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้ง ความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ
             •  เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความ รอบรู้ เน้นเกี่ยวกับวิชาการต่างๆที่เกี่ยวข้อง อย่างรอบด้าน ความ รอบคอบ 
ที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
            •  เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม  มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความอดทน 
และมีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

         5.แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ        
    จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน
 ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี

อ่านต่อได้ที่  http://www.royalthaipolice.go.th/Sufficiency_economy/sufficiency.html  และอีกเว็บ  http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B

ข้อมูล ณ วันที่ 29 กันยายน 2553

ย้อนกลับ
ข่าวประชาสัมพันธ์อื่นๆ

ดูข่าวเพิ่มเติม...